คุณวลัยลักษณ์ เล่าต่อว่า ระบบแฟรนไชส์ชาตันหยงจะให้ความสำคัญต่อลูกค้า (แฟรนไชส์ซี) ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้ซื้อแฟรนไชส์ ไม่ขยายสาขามากๆ เพราะหวังเงินค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์อย่างเดียว ผู้ซื้อแฟรนไชส์ชาตันหยงไปเปิดร้านแล้ว จะต้องมีรายได้อย่างมั่นคง และต้องเติบโตไปพร้อมๆ กันทุกสาขาแฟรนไชส์ ทุกสาขาแฟรนไชส์ต้องซื้อวัตถุดิบในราคาต้นทุนต่ำ
เพื่อป้องกันการแข่งขันและแย่งชิงลูกค้าของแบรนด์แฟรนไชส์ชาตันหยงด้วยกันเอง บริษัทฯ ได้มีนโยบายไว้ว่า ในพื้นที่ต่างจังหวัด สาขาแฟรนไชส์ชาตันหยงจะต้องมีระยะห่างกันประมาณ 2 กิโลเมตรถึงจะเปิดได้ แต่ถ้าพื้นที่ในกรุงเทพฯ สามารถเปิดร้านชาตันหยงได้ทุกชุมชน ทุกหมู่บ้าน รวมถึงฝั่งตรงข้ามของถนนหลักในกรุงเทพฯ ก็สามารถเปิดร้านได้
คุณวลัยลักษณ์ เล่าด้วยว่า เป้าหมายของแฟรนไชส์ “ชาตันหยง” คือ การขึ้นเป็นเบอร์ 1 เครื่องดื่มชา 25 บาทในตลาดเมืองไทย ตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ ให้การช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย หรือ ผู้มีภาวะว่างงาน ที่รักในการค้าขาย และสนใจแฟรนไชส์ลงทุนต่ำคืนทุนไว กำไรมั่นคง เติบโตไปพร้อมกับบริษัทฯ ทุกหมู่บ้าน ทุกชุมชน ต้องมีร้านชาตันหยงเปิดบริการ ไม่ว่าจะเป็นร้านเล็กๆ หรือร้านขนาดใหญ่ อีกทั้งแฟรนไชส์ชาตันหยงยังเตรียมพร้อมขยายร้านในรูปแบบของ Café มีบริการอาหารและอื่นๆ ด้วย
เร็วๆ นี้ แฟรนไชส์ “ชาตันหยง” ได้แตกไลน์ขยายสู่ธุรกิจแฟรนไชส์ชานมไข่มุก ภายใต้ชื่อ KIMJI CHA หรือ “กิมจิชา” แก้วละ 19 บาท ถือเป็นแฟรนไชส์น้องใหม่ล่าสุดของครอบครัว “ชาตันหยง” หลังเปิดตัวได้รับการตอบรับจากนักลงทุนเป็นอย่างมาก